หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตราแผ่นดินของมาเลเซีย

ตราแผ่นดินของมาเลเซียเป็นรูปเสือสองตัวยืนบนแถบแพรหันหน้าหากันประคองโล่ซึ่งมีจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉกอยู่ด้านบน เสือสองตัวนี้หมายถึงกำลังและความกล้าหาญ บนโล่ปรากฏสัญลักษณ์แทนรัฐทั้ง 13 ของมาเลเซียและดอกชบา อันเป็นดอกไม้ประจำชาติ จันทร์เสี้ยวเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม และดาว 14 แฉก (ดาราสหพันธ์) แทนดินแดนทั้ง 14 (13 รัฐกับรัฐบาลกลาง) ส่วนในแถบแพรด้านล่างแสดงคำขวัญของประเทศเป็นตัวอักษรโรมันและอักษรยาวี มีความหมายว่า ‘ความเป็นเอกภาพคือพลัง’ ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมลายาในช่องที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ
 

เทศกาลต่างๆ

ฮารีรายออิดิลฟิตรี้
     จัดขึ้นหลังเดือนเราะมะฎอน (เดือนแห่งการถือศีลลอดมุสลิมทั่วโลก)  โดยเริ่มตั้งแต่สิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน   ในตอนเช้ามุสลิมในประเทศมาเลเซียจะเดินทางไปละหมาดร่วมกันที่มัสยิด  จากนั้นจะเดินทางไปเยี่ยมกุโบร์หรือสุลานของบรรพบุรุษ  นอกจากนี้ยังมีการทำความสะอาดบ้านและสวมใส่เสื้อผ้าชุดใหม่  และถือเป็นเทศกาลที่ชาวมุสลิมจะเปิดบ้านตลอดวันเพื่อต้อนรับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงที่จะมาเยี่ยมเยือน ในประเทศมาเลเซีย


ทีปวาลี
     คือเทศกาลฉลองขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู  “ทีปวาลี” เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า  แถวแห่งแสงไฟ  ชาวฮินดูจะจุดตะเกียงสว่างไสวไปทั่วบ้านเรือนและตามท้องถนนเพื่อเป็นการบูชาพระลักษมี  แสงไฟเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและการมีชัยเหนือปีศาลร้าย  จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนตามปฏิทินฮินดู  ชาวบ้านจะเดินทางไปวัดเพื่อสวดมนต์

ตรุษจีน
     คือเทศกาลตรุษจีนเป็นการเฉลิมฉลองในช่วงเวลา 15  วัน  ตั้งแต่วันแรกตามปฏิทินจันทรคติแบบจีน  เป็นเทศกาลแห่งความสุขของชาวมาเลย์ เชื้อสายจีน  มีการแจกเงินให้ลูกหลาน  เรียกว่า “อั่งเปา”  และให้ส้มแมนดารินเป็นจำนวนคู่เพื่อความโชคดี 

การแต่งกายประจำชาติ


         สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว

อาหารประจำชาติ


    นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของมาเลเซีย คือข้าวหุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อม เครื่องเคียง 4 อย่างได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะ ห่อด้วยใบตองและมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ


“ภูมิประเทศ”
มาเลเซียตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีพื้นที่ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร          
ประเทศมาเลเซียประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น
          *มาเลเซียตะวันตก
          ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดกับไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ โดยประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส และ 1 เขตที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง คือ เกาะลาบวน
          *มาเลเซียตะวันออก
          ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) มีพรมแดนทิศใต้ติดกับอินโดนีเซียทั้งหมด ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาร์ และซาราวัก และ 2 เขตที่ปกครองโดยรัฐบาลกลาง คือ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) ปุตราจายา (เมืองราชการ)
“ภูมิอากาศ”
          ร้อนชื้นและฝนตกชุกตลอดปี โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสลมจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้

เศรฐกิจ


       
 เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
    - การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
     -การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
      อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)

ศาสนา



        ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นศาสนาประจำชาติ รองลงมาคือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นอกจากนี้คือ ศาสนาฮินดู และคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ